SET ร่วง 10 จุด รับแรงขายลดเสี่ยง FTSE ลดน้ำหนักหุ้นไทย-จับตาประชุมเฟดสัปดาห์หน้า
ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 1,622.12 จุด ลดลง 9.58 จุด หรือ 0.59% มูลค่าการซื้อขาย 3.49 หมื่นล้านบาท ด้าน บล.โกลเบล็ก คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยมีแรงกดดันจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ใน ประเทศที่ปรับตัวขึ้นอีกครั้ง ประกอบกับยังขาดปัจจัยใหม่เข้าหนุนตลาด และนักลงทุนยังรอการประชุม FOMC
ใน วันที่ 21-22 ก.ย. มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,620 -1,640 จุด
ส่วน SET แกว่งตัว 1,620 – 1,640 จุด แม้ภาวะตลาดจะได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบทรงตัวเหนือ 72 ดอลลาร์ต่อบาเรล รวมถึงความคาดหวังเศรษฐกิจฟื้นตัวตามไทม์ไลน์เปิดประเทศ สเตจ 4 ของรัฐบาล อย่างไรก็ตามควรระวังแรงขายลดความเสี่ยงจาก FTSE rebalance ที่ลดน้ำหนักหุ้นไทยลงราว 40 – 45 ล้านดอลล่าร์ที่จะมีผลวันนี้ รวมถึงการประชุม Fed ในสัปดาห์หน้าว่าจะลดการใช้ QE ลงหรือไม่
อ้างอิง: kaohoon.com
S&P +ฟิทช์ หั่นเครดิตเอเวอร์แกรนด์ หวั่นผิดนัดชำระหนี้หลังสภาพคล่องลด
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป (China Evergrande Group) ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของจีน ลงสู่ระดับ CC จากระดับ CCC โดยให้แนวโน้มการจัดอันดับความน่าเชื่อถือเป็นลบ เนื่องจากสภาพคล่องของเอเวอร์แกรนด์ลดน้อยลง และบริษัทมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับโครงสร้างหนี้
ด้านฟิทช์ เรทติ้งส์ก็ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเอเวอร์แกรนด์ลงสู่ระดับ CC จากระดับ CCC+ พร้อมกับเตือนว่าการผิดนัดชำระหนี้ของเอเวอร์แกรนด์จะทำให้ธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ ของจีนมีความเสี่ยงด้านสินเชื่อเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เอเวอร์แกรนด์ออกแถลงการณ์ยอมรับว่าบริษัทกำลังเผชิญปัญหาสภาพคล่อง และอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ขณะเดียวกันมีการประเมินว่า เอเวอร์แกรนด์มีหนี้สินมากกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 2% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีน หลังจากที่บริษัทได้ทำการกู้เงินมาเป็นเวลาหลายปีเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน
สถานะทางการเงินของเอเวอร์แกรนด์เริ่มสั่นคลอนหลังจากที่รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการควบคุมภาวะร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสกัดการก่อหนี้ของบริษัทขนาดใหญ่
ในภาคดังกล่าว โดยภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นเสาหลักสำคัญในการขยายตัวของจีน โดยมีสัดส่วนผลผลิตทางเศรษฐกิจสูงเกือบ 30% ซึ่งการล้มละลายของเอเวอร์แกรนด์จะส่งผลกระทบลุกลามไปยังบริษัทอื่นๆ ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และสร้างความเสี่ยงต่อระบบธนาคารของจีน
อ้างอิง: infoquest.co.th
ราคาน้ำมันดิบคงที่ การผลิตเริ่มฟื้นตัวหลังพายุโซนร้อนนิโคลัสเคลื่อนผ่านไป
ราคาน้ำมันดิบคงที่ จากการผลิตน้ำมันที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นหลังพายุโซนร้อนนิโคลัสเคลื่อนผ่านไป ในขณะที่เบรนท์ปรับเพิ่ม
ปัจจัยลบ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสคงที่ หลังกำลังการผลิตน้ำมันในสหรัฐที่ได้รับผล
กระทบจากพายุโซนร้อนนิโคลัส เริ่มฟื้นตัว โดยบริษัทพลังงานหลายแห่งในรัฐเท็กซัส สามารถกลับมาดำเนินการบริการท่อส่งน้ำมันและไฟฟ้าได้อีกครั้ง หลังจากพายุเคลื่อนผ่านเท็กซัสไปแล้ว ทำให้สามารถเร่งดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เกิดความเสียหายจากพายุ
เฮอริเคนไอดาเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
ปัจจัยบวก สำนักงานพลังงานสากล (IEA) และ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC)
คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในไตรมาส 2 ของปีหน้า ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 62 ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19
อีกทั้งราคาน้ำมันได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานและเชื้อเพลิงในทวีปยุโรปที่พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณก๊าซคงคลังอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งอุปทานจากรัสเซียที่ลดลงต่ำกว่าปกติ เนื่องจากอุปสงค์ทางฝั่งเอเซียที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันมาตรฐานยุโรป (Dutch TTF) เพิ่มขึ้นมากกว่า 250% ตั้งแต่เดือนมกราคม
อ้างอิง: prachachat.net
หุ้นผันผวนในวันพฤหัสบดี หลังจากรายงานยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่งในเดือนสิงหาคม
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเผยว่ายอดค้าปลีก เพิ่มขึ้น 0.7% ในเดือนที่แล้วจากเดือนกรกฎาคม ทำให้ผิดจากการคาดการณ์ที่คาดว่าจะลดลง 0.8% ส่วนการค้าปลีกซึ่งมีอิทธิพลต่อ GDP ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.5% ความคาดหวังที่คาดว่าจะลดลง 0.1% อีกทั้งภาคพลังงานก็ร่วงลงเช่นกัน โดยร่วงลง 1.4% แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ภัยคุกคามต่อการผลิตเหมือนจะคลี่คลายลงเมื่อพายุเฮอริเคนนิโคลัสเคลื่อนตัวออกจากภูมิภาค อีกทั้งภาคพลังงานก็
ร่วงลงเช่นกัน โดยร่วงลง 1.4% แม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ภัยคุกคามต่อการผลิตเหมือนจะคลี่คลายลงเมื่อพายุเฮอริเคนนิโคลัสเคลื่อนตัวออกจากภูมิภาค
จากเหตุการณ์มีช่วงสัปดาห์มี 3 สิ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดที่นักลงทุนควรจับตามอง
- ทัศนคติของผู้บริโภค ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในสหรัฐฯ เดือนกันยายนสะท้อนให้เห็นในดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ปรับตัวดีขึ้นจาก 70.3 เป็น
72 ในเดือนสิงหาคม - หุ้นค้าปลีก หลังพยายามฟื้นตัวจากการปลดล็อกดาวน์กลับมาเปิดเศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง ยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ค้าปลีกออนไลน์ และของใช้สำหรับเปิดเทอมใหม่ของนักเรียน สามารถช่วยหนุนส่วนแบ่งของร้านค้าใหญ่ๆ ได้
- กาแฟ ผู้ค้าปลีกเครื่องดื่มกาแฟทำกำไร 6.3 ล้านดอลลาร์จากยอดขาย 404.5 ล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน คู่แข่งสำคัญ ได้แก่ Starbucks Corporation (NASDAQ:SBUX), Dunkin’ และ Peet’s Coffee & Tea
อ้างอิง: th.investing.com