‘หุ้นกลุ่มกลาโหม’ สหรัฐร่วงหนักหลังทรัมป์เน้นสันติภาพแทนสงคราม

2025-03-05 | ข่าวสารการลงทุน , ทรัมป์ , บทความวิเคราะห์ตลาดรายสัปดาห์ , หุ้นกลุ่มกลาโหม , หุ้นยุโรป , หุ้นสหรัฐ

หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หรือเรียกกันอีกชื่อว่า “หุ้นกลุ่มกลาโหม” ของสหรัฐกำลังได้รับผลกระทบ นักลงทุนต่างจับตามองอย่างใกล้ชิด หลังจากทรัมป์ประกาศยุติสงครามที่ยืดเยื้อมานาน  

ช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายบริษัทที่เกี่ยวกับด้านการป้องกันประเทศอยู่ในช่วงขาขึ้นจากความขัดแย้งทั่วโลก แต่ตอนนี้เมื่อทรัมป์หันมาให้คำมั่นว่าจะลดการแทรกแซงทางทหาร ทำให้สถานการณ์ในตลาดตอนนี้เปลี่ยนไปยังไงบ้าง? มาอ่านต่อกัน 

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้รับผลประโยชน์จากสงครามและความขัดแย้งมาโดยตลอด การใช้จ่ายทางทหารถูกใช้ไปกับเชื้อเพลิง อาวุธ และการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เมื่อมีส 

ครามเกิดขึ้น มูลค่าหุ้นก็เพิ่มขึ้นตาม แต่ในทางกลับกัน เมื่อมีการเจรจาเพื่อสันติภาพ ทำให้มูลค่าลดลง  

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ทรัมป์ต้องการที่จะลดบทบาททางทหารและหันมาให้ความสำคัญกับการเจรจาทางการทูตแทน ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลและเทขายหุ้นของอุตสาหกรรมนี้  

ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่าไม่มีสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้นน หรือ No more endless wars นั่นหมายความว่าสหรัฐจะถอนกำลังทหารออกจากจุดต่างๆทั่วโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ  

  • ถอนกำลังทหารออกจากตะวันออกกลางและยุโรป  
  • ลดงบประมาณทางทหารและให้ความสำคัญกับนโยบายในประเทศ  
  • ลดการแทรกแซงคสามขัดแย้งระหว่างประเทศ  

สำหรับบริษัทด้านการป้องกันประเทศอาจตกอยู่ที่นั่งลำบาก เพราะการทำสัญญากับรัฐบาลอาจลดลง การซื้อขายอาวุธระหว่างประเทศอาจชะลอตัวลง ทำให้นักลงทุนมองเห็นถึงความเสี่ยงและทะยอยขายหุ้นออกไป  

เริ่มจากวิเคราะห์ผลประกอบการของหุ้นป้องกันประเทศของสหรัฐ จะเห็นว่ากำลังอยู่ในจุดขาลง  

หุ้นกลาโหมสหรัฐ NOC

ตลอดเดือนที่ผ่านมา: 

หุ้น ผลประกอบการ 
Lockheed Martin (LMT)                -11.74% 
Northrop Grumman: (NOC)                -10.84% 
General Dynamics (GD)                -9.49% 
AXON Enterprise (AXON)                -15.53 

แต่ในขณะที่หุ้นยุโรปกลับพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว  

หุ้นกลาโหมยุโรป RHM
หุ้น ผลประกอบการ 
Rheinmetall (RHM.DE)                +32.70 
Thales (FR)               +23.11 
BAE Systems (GB)                +8.24 
Airbus (EU)                +1.5 

การดิ่งลงของหุ้นกลุ่มนี้อาจเกี่ยวข้องกับข่าวที่ว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐกำลังเตรียมตัดงบประมาณก่อนการตรวจสอบความโปร่งใสของงบประมาณกลาโหม จาก DOGE (Department of Government Efficiency) ที่นำโดยอีลอน มักส์  

แต่ในทางกลับกัน หุ้นกลุ่มนี้ดันเป็นกลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจเนื่องจากผลประกอบการเป็นไปในทิศทางขาขึ้น และคาดว่าการใช้จ่ายทางทหารของยุโรปจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อชดเชยบทบาทของรัฐบาลสหรัฐที่ลดลง  

ทรัมป์มีแผนลดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) 8% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี  

ถือว่าเป็นงบประมาณที่มีมูลค่าสูงถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ โดยงบประมาณส่วนนี้จะถูกย้ายไปใช้กับความมั่นคงชายแดนและเทคโนโลยีโดรนแทน ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดและเป็นที่มาของหุ้นป้องกันประเทศร่วงหนัก   

ตัวอย่างบริษัทมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมกลาโหมอย่าง Palantir Technologies เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญด้าน AI และ Big Data Analytics ที่ให้บริการแก่หน่วยข่าวกรอง กองทัพและภาคอื่นๆ ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศข่าวเรื่องงบประมาณออกมา ส่งผลให้หุ้น Palantir Technologies ลดลงถึง 10%  

โรเบิร์ต ซาเลสเซส รองปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า การตัดงบประมาณนี้จะช่วยปรับปรุงค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้อง อาจได้รับผลประทบในแง่ของการเสียหายรายได้มหาศาล  

ทรัมป์ต้องการหยุดสงครามในยูเครนและหันมาสนับสนุนให้มีการเจรจาแบบสันติภาพ แต่ทาง Zelensky ผู้นำยูเครนกลับไม่เห็นด้วย และต้องการสู้ต่อ  

ทางด้านสหภาพยุโรป (EU) ก็ไม่เห็นด้วยจากการที่มีการยุติสงครามที่รวดเร็วเกินไป และยังมองว่ารัสเซียยังคงเป็นภัยคุกคามระยะยาว  

สถานการณ์เหล่านี้ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในยุโรปมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกลาโหม เพราะมีความเชื่อว่าทางยุโรปเองก็ต้องให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายทางทหารมากขึ้น เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกภัยคุกคาม ส่งผลให้บริษัทเยอรมัน ฝรั่งเศษ และอังกฤษได้รับผลประโยชน์จากเรื่องนี้  

นโยบาย “American First” ของทรัมป์กำลังสร้างความสั่นสะเทือนให้กับพันธมิตรทั่วโลก สหรัฐถอนตัว ทำให้ NATO วิตกกังวลว่าพวกเขาจะสามารถพึ่งพาสหรัฐด้านการปกป้องประเทศได้อยู่ไหม หลายประเทศก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจ  

ความไม่แน่นอนในพันธมิตร NATO ทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปเริ่มจัดซื้ออาวุธ รถถัง และเครื่องบินรบมากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หุ้นยุโรปดีดขึ้นสวนทางกับหุ้นกลาโหมของสหรัฐ  

งบกลาโหมสหรัฐ แตะจุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์

ว่านี่อาจจะไม่ได้เป็นจุดจบของหุ้นกลุ่มนี้ แต่เป็นเพียงแต่สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเท่านั้น  

เรื่องนี้มองได้ 2 แง่ ถ้าหากทรัมป์ยังคงเดินหน้ามุ่งเน้นสันติภาพ หุ้นกลาโหมก็ยังคงซบเซา แต่ถ้าหากความขัดแย้งกลับขึ้นมาอีกครั้ง ก็อาจทำให้หุ้นกลุ่มนี้ฟื้นตัวขึ้นมา  

ซึ่งไม่ต่างกับนักวิเคราะห์ที่ก็มองเป็นหลากหลายมุมมอง บางฝ่ายอาจมองว่านี่คือโอกาสในการเข้าซื้อ บางฝ่ายเตือนว่าอุตสาหกรรมอาจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่  

สิ่งที่น่าเก็บไปคิด :  

งบประมาณกลาโหมในปี 2025 จะมีแนวโน้มลดหรือไม่?  

ความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์ หากเกิดความขัดแย้งขึ้นอีก หุ้นก็มีแนวโน้มกลับมา  

รายงานผลประกอบการ บริษัทอาจต้องปรับคาดการณ์รายได้  

คิดว่าไม่จำเป็นต้องกังวลมากเท่าไหร่ เพราะถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนงลประมาณ แต่อุตสาหกรรมกลาโหมจะยังคงมีความสำคัญระยะยาว สหรัฐยังคงพึ่งพากำลังทางทหาร แต่แค่รูปแบบการใช้เงินอาจเปลี่ยนไป  

บริษัทอาจเปลี่ยนไปเน้นเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น Cybersecurity ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีอื่นๆ แทนการผลิตอาวุธแบบเดิม 

นักลงทุนอาจลองพิจารณาปรับกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของกลาโหม แต่ก็ต้องถามตัวเองว่าคุณพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?  

ติดตามบทวิเคราะห์อื่นๆของเราที่นี่  

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-04-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ภาษีทรัมป์ กระทบกับตลาดการเงินทั่วโลกอย่างไรในปี 2025?  

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้นโยบาย “ภาษีศุลกากรตอบโต้” (Reciprocal Tariff) หรือ ภาษีทรัมป์ ฉบับใหม่ ที่มุ่งเป้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเกินความคาดหมายของตลาดอย่างมาก การเคลื่อนไหวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของนโยบายการค้าสหรัฐฯ และส่งสัญญาณถึงการปรับโครงสร้างใหม่ของระบบการค้าโลก  การประกาศดังกล่าวสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วตลาดการเงินทั่วโลก โดยเกิดแรงตอบรับอย่างฉับพลันและรุนแรงจากทั้งนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ แล้วภาษีชุดใหม่ของทรัมป์มีรายละเอียดอย่างไร? และจะส่งผลต่อทิศทางของตลาดการเงินในปี 2025 อย่างไร? มาดูในบทความนี้กัน   มีอะไรอยู่ในนโยบายภาษีทรัมป์?  เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทรัมป์ได้เปิดตัวกรอบนโยบายภาษีใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการปัญหาการขาดดุลทางการค้าระดับโลก โดยมีมาตรการสำคัญดังต่อไปนี้:  จากงานวิจัยของ Yale University พบว่า มาตรการใหม่นี้ส่งผลให้ อัตราภาษีเฉลี่ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 22.5% ซึ่งนับว่าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 1909 และมากกว่าค่าประมาณการณ์เดิมที่อยู่ราว 10% ถึง 2 เท่า  อะไรอยู่เบื้องหลังการผลักดันนโยบายภาษีของทรัมป์?  นโยบายภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายหลักอยู่ 3 ข้อสำคัญ:  การตอบรับของตลาดอย่างรุนแรงและตอบกลับแบบทันที  หลังจากมีการประกาศนโยบายภาษีใหม่ ตลาดการเงินตอบสนองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งในแง่ของ :   ตลาดหุ้นดิ่งแรง  ดอลลาร์อ่อนค่า  ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน  […]

article-thumbnail

2025-03-24 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ราคาน้ำมันจะไปทางไหน? ข้อตกลงรัสเซีย-ยูเครนส่งผลอย่างไร?

ข่าวการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง และตลาดโลกก็กำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะตลาดน้ำมัน ตั้งแต่สงครามเริ่มต้นในปี 2022 ราคาน้ำมันมีความผันผวนอย่างหนัก  ทำให้เคยพุ่งขึ้นเกือบ 50% แตะระดับสูงกว่า $120 ต่อบาร์เรลในช่วงหนึ่ง สงครามทำให้ซัพพลายทั่วโลกหยุดชะงัก เกิดมาตรการคว่ำบาตรและส่งแรงกดดันต่อตลาดพลังงานทั่วโลก แต่ตอนนี้เมื่อมีสัญญาณของข้อตกลงสันติภาพ ราคาน้ำมันอาจเผชิญกับบททดสอบครั้งใหม่ ราคาจะร่วงลงเมื่อความกังวลด้านอุปทานคลี่คลาย? หรือจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีกครั้ง?  ติดตามบทวิเคราะห์เชิงลึกว่าข้อตกลงครั้งนี้อาจเปลี่ยนทิศทางของตลาดน้ำมันอย่างไร  ทำไมราคาน้ำมันช่วงนี้ถึงผันผวน  ข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดน้ำมันโลก โดยเฉพาะในด้านอุปทาน การค้า และความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์  🔹 อุปทานน้ำมันจากรัสเซียอาจเพิ่มขึ้น: มาตรการคว่ำบาตรที่ผ่านมาได้จำกัดการส่งออกของรัสเซีย ทำให้ต้องขายน้ำมันในราคาต่ำ หากมีข้อตกลงสันติภาพ ข้อจำกัดเหล่านี้อาจผ่อนคลาย ส่งผลให้รัสเซียสามารถส่งออกน้ำมันกลับเข้าสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น  🔹 ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์อาจลดลง: ตลอดสงคราม ความไม่แน่นอนได้ส่งผลให้ตลาดมีการตั้งราคาที่รวม “ค่าความเสี่ยง” เอาไว้ หากสงครามสิ้นสุดลง ความเสี่ยงนี้ก็จะหายไป ซึ่งอาจกดดันราคาน้ำมันให้ลดลง  🔹 ท่าทีของ OPEC+ ยังไม่แน่นอน: รัสเซียเป็นสมาชิกหลักของกลุ่ม OPEC+ การเปลี่ยนแปลงในกลยุทธ์การผลิตของรัสเซียหลังจากมีข้อตกลงสันติภาพ อาจส่งผลกระทบต่อแผนการผลิตของทั้งกลุ่ม  หากอุปทานน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการยังคงเท่าเดิม ราคาน้ำมันก็มีโอกาสปรับตัวลดลง แต่ในโลกของตลาดพลังงาน ทุกอย่างมักไม่ง่ายขนาดนั้น  ผลกระทบราคาน้ำมันจากข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซีย-ยูเครน  ข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจนำมาซึ่งเสถียรภาพในตลาดน้ำมันโลก หากความตึงเครียดคลี่คลายและมาตรการคว่ำบาตรถูกยกเลิก […]

article-thumbnail

2025-03-14 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ปี 2025 เศรษฐกิจถดถอย ? ทำไมดอลลาร์ถึงสำคัญและเราควรรู้  

คำถามใหญ่ในตลาดตอนนี้คือ ใกล้ถึงภาวะเสรษฐกิจถดถอยแล้วหรือยัง? เพื่อจะตอบคำถามนี้ได้อย่างดีนักลงทุนทั้งหลายต้องคอยจับตาดูเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างใกล้ชิด ในขณะที่ตลาดส่งสัญญาณว่า “ปี 2025 เศรษฐกิจถดถอย”  แต่เงินดอลลาร์กลับไม่เป็นเหมือนที่คาดไว้ แทนที่จะเป็นเหมือนที่ปลอดภัยแบบก่อนๆ แต่กลับอ่อนค่าลงมาก ดัชนีค่าเงินดอลลาร์เพิ่งแตะระดับจุดต่ำสุดมาตั้งแต่พฤศจิกายน 2567 การเดิมพันอัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มสูงขึ้น และตอนนี้เฟด (Fed) ก็เป็นห่วงอนาคตของดอลลาร์เช่นกัน  “ฉันเป็นกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับปัจจัยที่อาจคุกคามเงินสำรองของดอลลาร์สหรัฐ”  Fed’s Harker ได้กล่าวไว้   แล้วอะไรหละที่อยู่เบื้องหลังของการร่วงของเงินดอลลาร์ และมีความหมายต่อนักเทรดและนักลงทุนอย่างไร?   นโยบายทรัมป์และเศรฐกิจถดถอยปี 2025   ต่อให้รักหรือเกลียดทรัมป์แค่ไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันจากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้มีผกระทบต่อตลาดและเป็นส่วนที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง    นโยบายการคลังที่ต่างจากวาระแรก ในวาระที่สองนี้ ทรัมป์มุ่งเน้นไปที่การลดการใช้จ่ายของรัฐบาลและการลดการขาดดุลงบประมาณ แม้ว่าสิ่งนี้อาจเป็นผลดีต่อความยั่งยืนของหนี้ระยะยาว แต่ก็สร้างความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ นักลงทุนจึงเริ่มปรับพอร์ต หันออกจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  การปรับลดอัตราดอกเบี้ย การคาดการณ์ว่าเฟด (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกกำลังกดดันค่าเงินดอลลาร์ เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ผลตอบแทนจากการถือครองเงินดอลลาร์ก็ลดลงตาม ทำให้เงินดอลลาร์ไม่น่าสนใจเทียบกับสกุลเงินอื่น  ความตึงเครียดทางการค้า แนวคิด “America First” ของทรัมป์กลับมาอีกครั้ง ส่งผลให้ตลาดทั่วโลกเตรียมรับมือกับมาตรการกำแพงภาษีใหม่และสงครามการค้าครั้งใหม่ ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้นักลงทุนเริ่มมองหาสินทรัพย์อื่น   ทำไมเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และสิ่งนี้หมายถึงอะไร?   โดยปกติแล้ว เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย นักลงทุน […]