2024-05-16 | สารจาก Doo Prime
ในการอภิปรายทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ คำว่า “stagflation” ได้ปรากฏขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจุดประกายให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับการฟื้นตัวของตลาดที่ผ่านมา แม้ว่ารายงานและข้อมูล GDP จะแสดงถึงสัญญาณ Stagflation นักเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกัน เรามาดูรายละเอียดกันดีกว่าว่าภาวะ Stagflation เกี่ยวข้องกับอะไร รวมถึงข้อมูลในอดีต และผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินในปัจจุบัน Stagflation คืออะไร? Stagflation คือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะการเติบโตที่ซบเซา การว่างงานสูง และมาพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงด้วย คำว่า “Stagflation” เป็นคำผสมระหว่าง “การเติบโตของเศรษฐกิจที่ซบเซา (Stagnation)” และ “เงินเฟ้อ (Inflation)” ซึ่งเป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างมาก การเติบโตของเศรษฐกิจที่ซบเซา (Stagnation): การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ซบเซา ธุรกิจมีอัตราการผลิตที่ลดลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง เงินเฟ้อ (Inflation): ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ทำให้ค่าครองชีพแพงขึ้น ความท้าทายของ Stagflation การผสมผสานระหว่างการเติบโตที่ช้าและอัตราเงินเฟ้อที่สูงนี้ทำให้เกิดความท้าทายเฉพาะต่อผู้กำหนดนโยบาย โดยปกติแล้ว นโยบายในการแก้ไขปัญหาจุดหนึ่งอาจทำให้อีกปัญหาแย่ลงได้ ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อต่อสู้กับอัตราการเติบโตที่ช้าอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออาจชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจได้ จุดที่น่าสังเกตคือภาวะเงินเฟ้อนั้นสามารถท้าทายโมเดลทางเศรษฐกิจแบบเดิมๆได้ เช่น เส้น Phillips ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการว่างงานที่ลดลงกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ […]
2023-08-03 | สารจาก Doo Prime
ประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอย่างจีนได้เริ่มต้นปีอย่างแข็งแกร่งหลังจากยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์โควิด-19 อย่างไรก็ตาม เกิดความกังวลขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจแทบจะไม่ได้เติบโตขึ้นเลยในไตรมาสที่สอง ทำให้เกิดความกลัวว่าอาจจะเกิดเศรษฐกิจซบเซาได้ซึ่งคล้ายกับ ‘ทศวรรษที่สาบสูญของญี่ปุ่น’ (Japan’s Lost Decade) เศรษฐกิจสูญเสียโมเมนตัมในไตรมาสที่ 2 สร้างความเสี่ยงต่อเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของปักกิ่ง และสร้างความกังวลในวงกว้างเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก เมื่ออุปสงค์ลดลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ แรงกดดันของผู้กำหนดนโยบายในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีเพิ่มมากขึ้นเพื่อหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แม้อาจจะมีความจำเป็นในการแทรกแทรงทางเศรษฐกิจ แต่ทางปักกิ่งได้พูดเป็นนัยว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้น่าจะยังคงมีขอบเขตจำกัด ซึ่งสะท้อนถึงเป้าหมายการเติบโตที่อาจจะไม่สูงมากนักที่ประมาณ 5% สำหรับปีนี้ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายนี้ก็มีความเสี่ยง เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของ Citigroup Inc. ได้ลดการคาดการณ์การเติบโตของจีนในปี 2023 เหลือ 5% จาก 5.5% ในทำนองเดียวกัน Morgan Stanley ปรับประมาณการเป็น 5% จาก 5.7% ในขณะที่ UOB Ltd. และ JPMorgan Chase & Co. คาดว่าจะขยายตัวในลักษณะเดียวกัน ลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 5.6% และ 5.5% ตามลำดับ ขณะนี้ทางการจีนเผชิญหน้ากับปัญหาในการควบคุมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องจัดการกับปัญหาการว่างงานและหลีกเลี่ยงการกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไปซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงด้านหนี้สินและความไม่สมดุลของโครงสร้างในประเทศ บทความนี้เจาะลึกถึงการประเมินประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของจีน […]
2023-05-19 | สารจาก Doo Prime
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับปัญหาความไม่แน่นอนมากมาย การระบาดของโรคโควิด-19 ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความขัดแย้งอย่างสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดก่อให้เกิดความกังวลต่อการเกิดภาวะถดถอยทั่วโลก เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ตลาดเกิดความวิตกกังวล ส่งให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและก่อให้เกิดปัญหาต่อการขยายธุรกิจ รวมถึงปัญหาต่างๆ เช่น การหยุดการผลิต และการล้มละลายก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน นอกจากนี้ ระดับหนี้ทั่วโลกที่สูงและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และเมื่อเร็วๆ นี้ แม้แต่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้ที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในโลกยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบอ่อนในช่องทางโซเชียลมีเดียของตนเองอีกด้วย ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวได้แทรกซึมไปทั่วทุกมุมโลก จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า โลกไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยครั้งใหญ่นี้ได้ใช่หรือไม่ นอกจากนี้ ท่ามกลางภาวะถดถอยเช่นนี้ นักลงทุนควรปรับกลยุทธ์อย่างไร บทความนี้มีจะตอบคำถามเหล่านี้และให้ข้อมูลสำหรับนักลงทุนในการเผชิญแรงกดดันจากภาวะถดถอย การคาดการณ์ของสถาบันต่างๆ: เศรษฐกิจดูท่าจะย่ำแย่ ในช่วงต้นเดือนเมษายนของปีนี้ ธนาคารโลกประเมินว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ทั่วโลกจะลดลงต่ำกว่า 2% ในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 3% ในปี 2024 และจากนั้นจะชะลอตัวลงเหลือ 2.2% ในปี 2030 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอัตราการเติบโต 3.5% ในทศวรรษแรกของศตวรรษนี้ ในทำนองเดียวกัน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนใน World […]