ความกลัวภาวะถดถอยของสหรัฐฯ

2022-09-21 | ข่าวสารการลงทุน ,ข่าวสารล่าสุด

ความหมาย สาเหตุ และสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ในวันที่ 16 กันยายน 2022 มีคำเตือนจาก FedEx ว่าภาวะถดถอยทั่วโลกกำลังใกล้เข้ามาถึง เนื่องจากอุปสงค์ของปริมาณขนส่งทั่วโลกตกต่ำลง ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจทั่วโลกที่ย่ำแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ 

นอกจากนี้ คำเตือนจาก FedEx ยังทำให้เกิดการขายหุ้นสหรัฐฯ เป็นจำนวนมากเพื่อหนีความเสี่ยง ดัชนี Dow ร่วง 5% ในขณะที่หุ้นคู่แข่งของ FedEx คือ UPS (UPS) ปิดลดลงประมาณ 5% 

หุ้น FedEx ขาดทุนในวันเดียวถึง 21% เพิ่มจาก 16% ที่ร่วงลงในวันที่ตลาดหุ้นตกในปี 1987 และร่วงลงอีก 15% ระหว่างการขายหุ้นออกในเดือนมีนาคมปี 2020 ช่วงเริ่มต้นของการระบาดโควิด-19 ในระยะยาว หุ้นของ FedEx ลดลงถึง 38% ในปีนี้ 

จากเหตุการณ์เหล่านี้ จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวของตลาดและพฤติกรรมของนักลงทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากความกลัวภาวะถดถอยของสหรัฐฯ  

ก่อนที่จะพูดลึกลงไปถึงเรื่องการตอบโต้ของตลาดและนักลงทุนเกี่ยวกับภาวะถดถอยที่ใกล้เข้ามา เราจะมาพูดถึงความหมายของภาวะถดถอยก่อน 

อะไรคือภาวะถดถอย 

คณะกรรมการของสำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐฯ  (NBER) มีหน้าที่ประกาศสถานการณ์หากเกิดภาวะถดถอย ซึ่งภาวะถดถอยนั้นเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญและคงอยู่หลายเดือน 

อีกทั้ง ภาวะถดถอยจะเกิดขึ้นเมื่อ GDP ลดลงเป็นเวลาสองไตรมาสติดต่อกันอีกด้วย 

แน่นอนว่าภาวะถดถอยไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากการลดลงของค่า GDP เท่านั้น แต่จากการที่รายได้ที่แท้จริง อัตราการจ้างงาน การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง รวมถึงช่วงซบเซาของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และยอดค้าปลีกด้วย 

อะไรก่อให้เกิดภาวะถดถอย 

โดยทั่วไป การเติบโตของเศรษฐกิจและอัตราการขยายตัวไม่สามารถคงอยู่ตลอดไปได้ 

กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญมักถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ คือ 

วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ 

เกิดจากสถานการณ์ที่คาดการณ์ไม่ถึง เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติ หรือการโจมตีจากผู้ก่อการร้าย ทำให้เกิดภาวะแทรกแซงทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ยกตัวอย่างสถานการณ์ปัจจุบันให้เห็นภาพคือ สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้เกิดภาวะถดถอย 

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง 

ในเวลาที่ผู้บริโภคกังวลเรื่องสภาวะเศรษฐกิจ พวกเขามักจะใช้จ่ายอย่างประหยัดและเก็บเงินเป็นจำนวนมากเท่าที่จะทำได้ 

เนื่องจากค่า GDP ประมาณ 70% มาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ดังนั้น เมื่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง เศรษฐกิจภาพรวมก็ชะลอตัวลงอย่างหนักมากเช่นกัน 

อัตราดอกเบี้ยสูง 

โดยปกติแล้ว อัตราดอกเบี้ยสูงทำให้การกู้เงินจากธนาคารมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้แล้ว ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อของที่มีมูลค่าสูง เช่น ทรัพย์สิน หรือรถยนต์ 

นอกจากนั้นแล้ว บริษัทยังลดค่าใช้จ่ายและการขยายธุรกิจลง เนื่องจากต้องใช้เงินทุนเพิ่มขึ้นไปด้วย

จากที่เรากล่าวไว้ในบทความก่อนหน้าในเรื่องภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐฯ และเรื่อง Inflation Trade เราได้เห็นแล้วว่าการที่อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นสูงนั้นสร้างความกระวนกระวายใจให้แก่นักลงทุนเพียงใด ซึ่งการปรับดอกเบี้ยขึ้นนี้ทำเพื่อควบคุมสภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะแย่ลงอย่างรวดเร็ว

ภาวะเงินฝืด 

ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะตรงกันข้ามของภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาโดยรวมลดลงเนื่องจากอุปสงค์ลดลงเป็นอย่างมาก 

เมื่ออุปสงค์ลดลง ราคาขายจึงลดลงด้วยเพื่อเป็นการดึงดูดผู้ซื้อ ในทางกลับกัน ผู้บริโภคมักใช้โอกาสในแนวโน้มขาลงนี้รอให้ราคาต่ำลงอีก ซึ่งจะทำให้อุปสงค์ลดลงไปอีก 

เหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีการตัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและทำให้อัตราการจ้างงานลดลง และหากภาวะนี้ดำเนินต่อไป ความเสียหายทางเศรษฐกิจและปัญหาเรื่องการว่างงานจะมากขึ้น 

ปัญหาฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์ 

ปัญหาฟองสบู่เป็นช่วงที่การลงทุน เช่น หุ้นเทคโนโลยีในภาวะฟองสบู่ดอทคอมหรือภาวะฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ก่อนที่จะเกิดภาวะถดถอยครั้งใหญ่มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าราคาฐาน 

ราคาที่เฟ้อขึ้นขึ้นเกิดขึ้นจากอุปสงค์ที่เกินจริง จนกระทั่งถึงจุดอิ่มตัวแล้วระเบิดออก ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่แตก 

ระหว่างสภาวะเหล่านี้ ทุกอย่างอยู่ในจุดตกต่ำและผู้คนมีความเชื่อมั่นลดลง ดังนั้น ผู้บริโภคและบริษัทต่าง ๆ จะลดค่าใช้จ่ายลง ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย 

ภาวะถดถอยจะส่งผลกระทบกับนักลงทุนอย่างไร 

หลังจากเรียนรู้ความหมายของภาวะถดถอยและสาเหตุ ตอนนี้ เราจะศึกษาว่าภาวะถดถอยจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนอย่างไร  

เมื่อกล่าวถึงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและผลกระทบของภาวะถดถอยต่อนักลงทุน จึงนำมาสู่เรื่อง วัฏจักรทางเศรษฐกิจ 

วัฏจักรทางเศรษฐกิจ 

วัฏจักรทางเศรษฐกิจเป็นช่วงเวลาที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นและลง 

วัฏจักรทางเศรษฐกิจประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น (Expansion) จุดสูงสุดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Peak) ช่วงเศรษฐกิจขาลง (Recession หรือ Contraction) และ จุดต่ำสุดของเศรษฐกิจ (Trough) 

ระหว่างช่วงขยายตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจกำลังเติบโตและพัฒนา ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นสมรรถนะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งได้ชัดในราคาหุ้นและเงินปันผล ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 

อย่างไรก็ตาม วัฏจักรทางเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง อัตราของรายได้และการจ้างงานจะลดลงด้วย ราคาหุ้นจะดิ่งลงเนื่องจากบริษัทต่าง ๆ พยายามที่จะรักษากำไรไว้ 

เมื่อราคาหุ้นแข็งค่าขึ้นหลังจากดิ่งลง เรียกได้ว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ระยะจุดต่ำสุด (Trough) แล้ว 

นักลงทุนมีปฏิกิริยาอย่างไรกับภาวะถดถอย 

อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้เรื่องวัฏจักรทางเศรษฐกิจไม่เป็นประโยชน์ใดหากนักลงทุนมองไปยังสถานการณ์เหล่านี้และเสริมความแข็งแกร่งของพอร์ตลงทุน 

ดังนั้น เมื่อภาวะถดถอยกำลังใกล้เข้ามา นักลงทุนเริ่มกังวลเรื่องโอกาสที่ราคาหุ้นจะตกลงและผลกระทบของผลตอบแทนการลงทุน 

ในระหว่างสภาวะนี้ นักลงทุนควรทำอย่างไร ความจริงแล้วมีหลายกรณีและวิธีการที่ขึ้นอยู่กับประเภทของนักลงทุน 

ข้อแรกที่สำคัญที่สุดคือการตระหนักว่าแม้ว่าจะเป็นตลาดหมี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ได้รับผลตอบแทน 

มีกรณีที่นักลงทุนใช้ประโยชน์จากตลาดหุ้นตกต่ำด้วยการ short sell หุ้น กล่าวคือนักลงทุนได้กำไรเมื่อราคาหุ้นตกและขาดทุนเมื่อราคาหุ้นขึ้น 

โดยพื้นฐานแล้ว การขาดทุนจาก Short sell นั้นไม่สามารถนับเป็นจำนวนได้ เนื่องจากไม่มีตัววัดแน่นอนว่ามูลค่าของหุ้นจะไปได้ถึงระดับใด 

อย่างไรก็ตาม มีเพียงนักลงทุนมากประสบการณ์เท่านั้นที่ใช้วิธีนี้ได้เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง 

ในขณะเดียวกัน นักลงทุนบางคนมองว่าภาวะถดถอยเป็นตลาดราคาต่ำ 

ระหว่างช่วงภาวะถดถอย นักลงทุนบางคนใช้การลงทุนตามมูลค่า (value investing) นักลงทุนจะสังเกตราคาหุ้นที่ตกและซื้อตอนที่ราคาต่ำกว่าราคาปกติ 

ทางเทคนิคแล้ว นักลงทุนที่ใช้กลยุทธ์นี้เป็นผู้ที่กอบโกยผลประโยชน์สูงสุดจากตลาดหมีโดยการซื้อหุ้นราคาต่ำของบริษัทที่มีชื่อเสียง 

ในทางกลับกัน นักลงทุนบางคนไม่มีปฏิกิริยากับภาวะถดถอย กลุ่มนักลงทุนเหล่านี้คือกลุ่มนักลงทุนระยะยาวที่ซื้อและถือโพสิชันของตัวเองในตลาด และพวกเขามั่นใจว่าความผันผวนชั่วคราวนี้จะไม่ส่งผลกระทบอะไรกับการลงทุนของเขานัก 

จะเกิดอะไรขึ้น  

จนถึงปัจจุบัน GDP ของสหรัฐฯ ลดลงในอัตรา 1.6% ต่อปีในไตรมาสแรก ตามด้วย 0.9% ในไตรมาสที่สองของปีค.ศ. 2022 

สิ่งนี้บ่งบอกว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เผชิญกับภาวะถดถอย 

อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานยังแสดงสัญญาณความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง พิสูจน์ให้เห็นว่าวัฏจักรนี้แตกต่างจากช่วงทุก ๆ 6 เดือนที่ค่า GDP ติดลบที่เกิดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947  

สุดท้ายแล้ว เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการจนกว่าคณะกรรมการของสำนักวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติสหรัฐฯ  (NBER) จะประกาศเรื่องนี้ 

| เกี่ยวกับ Doo Prime   

เครื่องมือการซื้อขายของเรา 

หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีหุ้น 

Doo Prime เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ระดับนานาชาติภายใต้บริษัท Doo Group ที่ให้นักลงทุนมืออาชีพได้ซื้อขายหลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีหุ้น ปัจจุบัน Doo Prime มอบประสบการณ์การซื้อขายที่ดีที่สุดให้ลูกค้ามากกว่า 60,000 คน โดยมีอัตราการซื้อขายเฉลี่ย 5,122 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน 

Doo Prime มีใบอนุญาตจากเซเชลส์ เมอริเชียส วานูอาตู โดยมีสำนักงานในดัลลัส ซิดนีย์ สิงคโปร์ ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ และอีกหลายสำนักงานทั่วโลก 

ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่สมบูรณ์แบบ พันธมิตรที่แข็งแกร่ง และทีมที่มีประสบการณ์ Doo Prime ให้ประสบการณ์การซื้อขายที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ให้ราคาการซื้อขายที่ดี รวมไปถึงวิธีการฝาก-ถอนที่รับรอง 10 สกุลเงิน อีกทั้ง Doo Prime ยังให้การบริการลูกค้าในหลากหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์ม MT4, MT5, TradingView, และ InTrade ที่มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000 รายการ 

วิสัยทัศน์และภารกิจของ Doo Prime คือการเป็นองค์กรเทคโนโลยีการเงินในฐานะโบรกเกอร์ด้านการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินระดับโลก 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Doo Prime โปรดติดต่อ 

โทรศัพท์ 
ยุโรป : +44 11 3733 5199  
เอเชีย : +852 3704 4241   
เอเชีย – สิงคโปร์: +65 6011 1415  
เอเชีย – จีน : +86 400 8427 539  

อีเมล 

ฝ่ายบริการด้านเทคนิค en.support@dooprime.com 

ฝ่ายขาย en.sales@dooprime.com 

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง 

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย 

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง 

ข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบตามกฎหมาย 

ข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณะเท่านั้น ข้อมูลไม่ควรถูกตีความเป็นคำปรึกษาทางด้านการลงทุน คำแนะนำ ข้อเสนอ หรือคำเชิญชวนเพื่อซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใด ๆ ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้จัดทำขึ้นโดยโดยไม่มีการอ้างอิงหรือพิจารณาถึงจุดประสงค์การลงทุนหรือสถานะทางการเงินของผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด การอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือทางการเงินในอดีต เครื่องมือทางการดัชนี หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ในอนาคต Doo Prime ไม่รับรองและรับประกันข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเป็นผลมาจากความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล Doo Prime ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เป็นผลมาจากความเสี่ยงการซื้อขาย กำไร หรือขาดทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนส่วนบุคคล 

สารจาก Doo PrimeIconBrandElement

article-thumbnail

2024-12-16 | ข่าวสาร Doo Prime

Doo Prime รายงานปริมาณการซื้อขายเดือนพฤศจิกายน 2567 

รายงานปริมาณการซื้อขายเดือนพฤศจิกายน 2567 ของ Doo Prime ที่แสดงให้เห็นถึงปริมาณการซื้อขาย และผลงานดำเนินงานที่แข็งแกร่งบนแพลตฟอร์มของเราในเดือนที่ผ่านมา 

article-thumbnail

2024-12-11 | กิจกรรม

ฉลอง 10 ปี กับ “OneMission”: ของขวัญจาก Doo Prime สู่เด็กๆ ในยูนนาน 

เพื่อเป็นเกียรติในโอกาสนี้ Doo Prime จึงได้เปิดตัวโครงการ “OneMission” ซึ่งเป็นความพยายามระดับโลกที่มุ่งสร้างผลกระทบที่มีความหมายในชุมชนต่างๆ 

article-thumbnail

2024-12-05 | ข่าวสาร Doo Prime

ประกาศเตือน: โปรดเว็บไซต์ปลอมที่แอบอ้างเป็นแบรนด์ของเรา 

ขณะนี้ เราพบว่ามีเว็บไซต์ปลอมพยายามแอบอ้างว่าเป็นของเรา อย่างเช่นเว็บไซต์ capitaldoo ที่แอบอ้างว่าเป็นแพลตฟอร์มของเรา แต่เว็บไซต์ที่ถูกต้องของเราคือ